SM CHEM ตัวแทนจำหน่าย Merck, Sigma-Aldrich ในประเทศไทย

ในห้องปฏิบัติการเคมีหรือ “แลปเคมี” ที่มีการใช้ “สารเคมี Chemical” มากมายหลายชนิด การอ่านและทำความเข้าใจฉลากสารเคมี (Chemical Labels) ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมี ฉลากสารเคมีไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลสำคัญในการจัดการ จัดเก็บ และใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นมาตรฐานสากลในการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีอีกด้วย

องค์ประกอบสำคัญบนฉลากสารเคมี

1. ชื่อของสารเคมี (Chemical Name) ทั้งชื่อทางการค้าและชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุสารเคมีได้อย่างถูกต้องชัดเจน

2. ข้อมูลองค์ประกอบของสารเคมี (Composition/Information on Ingredients) ระบุสูตรเคมี องค์ประกอบ และปริมาณสารสำคัญ

3. สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard Pictograms) รูปสัญลักษณ์ที่สื่อถึงประเภทของอันตราย เช่น วัตถุไวไฟ พิษเฉียบพลัน สารกัดกร่อน เป็นต้น

4. คำสัญญาณ (Signal Word) ใช้คำว่า อันตราย (Danger) หรือ คำเตือน (Warning) เพื่อสื่อระดับความรุนแรงของอันตราย

5. ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statements) ระบุลักษณะของอันตราย เช่น อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ เป็นพิษร้ายแรงหากสูดดม

6. ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย (Precautionary Statements) วิธีการใช้ การเก็บรักษา การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน และการจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

7. ข้อมูลผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย (Supplier Identification) ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

วิธีการอ่านฉลากสารเคมี

การอ่านฉลากสารเคมี (Chemical Labels) อย่างละเอียดและถูกต้องเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมากในการใช้สารเคมีใน “แลปเคมี” เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น วิธีการอ่านฉลากสารเคมีมีขั้นตอนดังนี้

1. ระบุประเภทและชนิดของสารเคมี – อ่านชื่อสารเคมี (Chemical Name) ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ ให้ถูกต้องชัดเจน

– สังเกตรหัสตัวเลขกำกับ (Product Identifier) เช่น CAS Number, UN Number – อ่านสูตรทางเคมี (Chemical Formula) เพื่อทราบองค์ประกอบของสาร

2. สังเกตสัญลักษณ์และคำเตือนบนฉลาก – สัญลักษณ์ (Pictograms) จะบอกประเภทของอันตราย เช่น ไวไฟ กัดกร่อน เป็นพิษ – คำสัญญาณ (Signal Word) “Danger” หรือ “Warning” บอกระดับความเสี่ยง – อ่าน Hazard Statements ที่อธิบายลักษณะอันตรายอย่างละเอียด

3. อ่านวิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้สาร – Precautionary Statements จะบอกวิธีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ตามที่ระบุในฉลาก เช่น แว่นตา ถุงมือ หน้ากาก – หลีกเลี่ยงการสูดดม การรับประทาน หรือการสัมผัสถูกผิวหนัง

4. ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น จุดวาบไฟ ความสามารถในการละลาย เพื่อเลือกภาชนะบรรจุและวิธีใช้ที่เหมาะสม

5. ทราบวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีได้รับสารเคมี – อ่านวิธีปฐมพยาบาลจากฉลาก เช่น ล้างตาหรือผิวหนังที่โดนสาร ให้ดื่มน้ำ นำส่งแพทย์ – มีเบอร์ติดต่อหน่วยงานกู้ภัยหรือศูนย์พิษวิทยาเผื่อเหตุฉุกเฉิน

6. จัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธี – เก็บสารในภาชนะที่กำหนด ปิดฝาให้สนิท ไม่ให้มีการรั่วไหล – เก็บในพื้นที่ที่ระบายอากาศได้ดี ให้ห่างจากความร้อน ประกายไฟ และสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ – ตรวจสอบวันหมดอายุและสภาพของสารเป็นระยะๆ

7. ทิ้งสารเคมีตามประเภทอย่างถูกวิธี อ่านวิธีการทิ้งและกำจัดสารเคมีให้ถูกต้อง ไม่ทิ้งสารเคมีลงในอ่างน้ำหรือถังขยะทั่วไป

การทำความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อมูลบนฉลากสารเคมีอย่างเคร่งครัด จึงเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ และลดความเสี่ยงจากอันตรายของ “สารเคมี Chemical” ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการสร้างความคุ้นเคยกับการอ่านฉลากสารเคมีจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องทำงานกับ “สารเคมี Chemical” ในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้การทดลองหรือการวิจัยดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยนั่นเอง

Close
Home
Account
Cart
Search
Close

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/วัดผลการทำงานของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

บันทึก
Close
Lost your password?
Close
Shopping cart